วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บริการค้นหาข้อมูล

บริการค้นหาข้อมูล

   1.ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างการสืบค้นแบบ web directory , meta search , search    engine
         ตอบ        Web Directory (เว็บไดเรคทอรี่) หรือ Directories บางทีเรียกว่า Link Directory คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อย ๆ ได้ด้วย เว็บที่ถูกบันทึกในแต่ละกลุ่ม จะต้องมีหัวเรื่องหรือเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เว็บไดเรคทอรี่บางแห่งทำหน้าที่เป็น Search Engineในตัวเองด้วย บางแห่งมีฟังก์ชั่นให้โหวตหาคะแนนนิยมของเว็บเพื่อจัดอันดับ
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Web Directory มีดังนี้
http://www.dmoz.org/
http://www.directory-index.net/
   Meta search จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบMetasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือSearch Engine แบบ Metasearch จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engineอื่น ๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จาก จะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหา ข้อความนั้น ๆ มาการเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahooแต่การค้นหา ด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบMetasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย

2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้คำสั่งดีใจจังค้นแล้วเจอแล้วกับการค้นหาแบบธรรมดา ในgoogle
 ตอบ  ปุ่ม “I’m feeling lucky” หรือ ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย” เป็นการสั่งให้ค้น และแสดงผลตรงไปที่เว็บไซต์ซึ่งตรงกับคำค้นมากที่สุด เพียงเว็บไซต์เดียวเพื่อความสะดวกรวดเร็วส่วนการใช้คำสั่งค้นหาแบบธรรมดานั้น Google จะแสดงผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บให้คุณเลือกเข้าเอง

3.ในการค้นหาขั้นสูงจะมีคำสั่ง AND กับ OR เพื่อใช้เสริมในการค้นหา จงอธิบายความแตกต่างพร้อมยกตัวอย่างการใช้งานพร้อมผลลัพธ์ทั้งสอง
            ตอบ    ในกรณีที่ต้องการให้ค้นคำใดคำหนึ่งก็ได้ ให้ใช้ OR เชื่อมคำ (พิมพ์ด้วยอักษรตัวใหญ่) เช่น  “travel guide” hongkong OR Singapore ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า  travel guide hongkong หรือtravel guide Singapore  คำใดคำหนึ่ง หรือทั้งสองคำปรากฏอยู่ เป็นต้น





  ค้นคำพ้อง ให้ใช้ AND เช่น anthropologist and archaeonologist     ผลการค้นจะได้ทั้ง anthropologist(นักมนุษยวิทยา) และ archaeonologist (นักโบราณคดี) ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีคำว่า anthropologist และ archaeonologis ทั้งสองคำนี้ปรากฏอยู่ เป็นต้นน




4.Google   Scholar  มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร
    ตอบ  ครอบคลุมบทความ  วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และงานเขียนทางวิชาการอื่นๆ จากการค้นคว้าวิจัยในสาขาทั่วไปทั้งหมด คุณจะพบผลงานจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการและแวดวงวิชาชีพที่หลากหลาย รวมทั้งบทความทางวิชาการที่มีอยู่ทั่วทั้งเว็บ นอกจากนี้ Google Scholar อาจรวมบทความหนึ่งเรื่องในเวอร์ชันต่างๆ ซึ่งคุณอาจสามารถเข้าถึงได้ในเบื้องต้น   
5.Google  Guru  มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร
   ตอบ เป็นบริการฟรีที่ช่วยให้ผู้ใช้ตั้งคำถาม และรับฟังคำตอบจากชุมชน โดยที่ทาง Google นั้นเชื่อว่า  กูรู จะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้สามารถ Login ผ่าน Google Accountเหมือนบริการอื่น ๆ ของ Google ซึ่งจะมี การแบ่งหมวดหมู่คำถามเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น ความรู้ บันเทิง เทคโนโลยี การท่องเที่ยว เป็นต้น

6.iGoogle  คืออะไรมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
   ตอบ    iGoogle ก็เหมือนกับหน้าเว็บไซต์ Google (ที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล)แต่ว่าเป็นหน้าของเราเอง โดย ก็เท่ากับบอกว่า ฉันไงกูเกิ้ล” ซึ่งไม่ได้มีไว้เพียงแค่ค้นหาเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถปรับแต่งหน้านั้นอย่างไรก็ได้ แล้วแต่เราพอใจ คือนอกจากที่เราจะสามารถเลือกเนื้อหามาแสดงได้แล้ว รูปร่างหน้าตาของเจ้าเว็บ iGoogle เราก็สามารถปรับแต่งได้ด้วย เช่น เราชอบใช้ภาษาไทย เราก็ให้มันแสดงเป็นภาษาไทยได้ เปลี่ยนธีม(Theme) หรือรูปร่างหน้าตาทั้งเว็บได้ด้วย
7.จงบอกสิทธิประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกของ Googleว่ามีความแตกต่างกับผู้ไม่สมัครอย่างไร

 ตอบ     เมื่อสมัครเป็นสมาชิก GOOGLE จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
           – สถิติเกี่ยวกับ VISITOR รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์
           – สถิติเกี่ยวกับ TRAFFIC รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์
           – สถิติเกี่ยวกับ CONTENT รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการเข้าชมเนื้อหาภายในหน้าเว็บไซต์
           – สถิติเกี่ยวกับ GOAL วิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานเข้าถึงเป้าหมายภายในเว็บไซต์ได้อย่างไร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น